วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ D.F. Skinner



ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory) เกิดขึ้นโดยมีแนวความคิด ของสกินเนอร์ (D.F. Skinner) ในสมัยของสกินเนอร์ ปี 1950 สหรัฐอเมริกาได้เกิดวิกฤติการการ
ขาดแคนครูที่มีประสิทธิภาพ เขาจึงได้คิดเครื่องมือช่วยสอนขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ เครื่องมือที่คิดขึ้นมาสำเร็จเรียกว่าบทเรียนสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม
(Program Instruction or Program Learning) และเครื่องมือช่วยในการสอน (Teaching Machine) เป็นที่ นิยมแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน

หลักการเรียนรู้ทฤษฎี สกินเนอร์ (Skinner) กับทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
Conditioning) โดยจากแนวความคิดที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งก่อให้เกิดพฤติกรรม และผลของการกระทำของพฤติกรรมนั้นโดยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้น ทฤษฏีนี้เน้นการกระทำของผู้ที่เรียนรู้มากกว่าสิ่งที่ผู้สอนกำหนดขึ้น ดังจะเห็นได้จากแผนภาพนี้

A คือสภาพแวดล้อม
S คือสิ่งเร้า
R คือการตอบสนอง
C คือผลกรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เกอดขึ้นโดยที่
C+ เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำพึงพอใจ
C- เป็นผลกรรมที่ผู้กระทำไม่พึงพอใจ
จากแผนภาพ จะเห็นได้ว่า ในสภาพแวดล้อมมีสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้กระทำแสดงพฤติกรรมออกมา ซึ่งพฤติกรรมนั้น จะมีผลกรรมตามมาและผลกรรมนั้นทำให้อาจจะเพิ่มขึ้นหรือระดับคงที่หรือลดลง ทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับว่าถ้าเป็นผลกรรมพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ

ขั้นตอนการทดลองของสกินเนอร์

ขั้นที่ 1 เตรียมการทดลอง ทำให้หนูหิวมาก ๆ เพื่อสร้างแรงขับ (Drive) ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางที่จะผลักดันให้แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องให้หนูคุ้นเคยกับกล่องของ
สกินเนอร์
ขั้นที่ 2 ขั้นการทดลองเมื่อหนูหิวมาก ๆ สกินเนอร์ปล่อยหนูเข้าไปในกล่องสกินเนอร์ หนูจะวิ่ง
เปะปะและแสดงอาการต่าง ๆ เช่น การวิ่งไปรอบ ๆ กล่อง การกัดแทะสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในกล่องซึ่งหนูอาจ
จะไปแตะลงบนคานที่มีอาหารซ่อนไว้ หนูก็จะได้อาหารกินจนอิ่มและสกินเนอร์สังเกตเห็นว่า ทุกครั้ง
ที่หนูหิวจะใช้เท้าหน้ากดลงไปบนคานเสมอ
ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบการเรียนรู้สกินเนอร์จะจับหนูเข้าไปในกล่องอีก หนูจะกดคานทันที แสดงว่า
หนูเกิดการเรียนรู้แล้วว่า การกดคานจะทำให้ได้กินอาหาร
สรุปจากการทดลองนี้แสดงว่า การเรียนรู้ที่ดีจะต้องมีการเสริมแรง

กฎแห่งการเรียนรู้
กฎการเรียนรู้ของสกินเนอร์ก็คือ กฎการเสริมแรง ซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง คือ
1. ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedule of Reinforcement) เป็นการใช้กฎเกณฑ์บางอย่าง
เช่น เวลาพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดในการเสริมแรง
2. อัตราการตอบสนอง (Response Rate) เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการเสริมแรงต่าง ๆ ซึ่ง เกิดขึ้นมากน้อยและนานคงทนถาวรเท่าใด ย่อมแล้วแต่ตารางกำหนดการเสริมแรงนั้น ๆ เช่น
ตารางกำหนดการเสริมแรงบางอย่าง ทำให้มีอัตราการตอบสอนงมากและบางอย่างมีอัตราการตอบสนองน้อย เป็นต้น
การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
1. การใช้กฎการเรียนรู้ กฎที่ 1 คือกฎการเสริมแรงทันทีทันใดมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เช่นทึกครั้งที่ผู้เรียนตอบคำถามถูก ครูจะรีบเสริมแรงทันที อาจเป็นคำชม เครื่องหมายรูปดาว เป็นต้น ซึ่งเหมาะในการใช้กับเด็กเล็ก เช่น ชั้นอนุบาล ประถม ส่วนกฎที่ 2 คือกฎ
การเสริมแรงเป็นครั้งเป็นคราวมักใช้เมื่อต้องการให้ผู้เรียนรู้เกิดการเรียนรู้นานต่อไปเรื่อย ๆ แล้วแต่จะ
เหมาะสมของผู้เรียน และโอกาสที่จะใช้ซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กโต เป็นต้น
2. บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed Learning) บทเรียนสำเร็จเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1954 จากแนว
ความคิดของสกินเนอร์ จากทฤษฎีการวางเงื่อนไขในห้องเรียน ผู้เรียนแต่ละคนได้รับการเสริมแรงน้อย
และยังห่างจากเวลาที่แสดงพฤติกรรม เป็นเวลานานเกินไปจนขาดประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหานี้เขาจึง
เสนอบทเรียนสำเร็จรูป โดยมีจุดประสงค์ว่าผู้เรียนจะได้รับการเสริมแรงทันทีที่แสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง
บทเรียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยและข้อย่อย ๆ มี 2 ลักษณะ คือ
2.1 การจัดเรียงบทเรียนเป็นเส้นตรง (Linear Programming) ลำดับขั้นของบทเรียนจากง่ายไปยาก
โดยเริ่มจากหน่วยแรกไปเรื่อยตามลำดับโดยถือว่าการเรียนขั้นแรกเป็นพื้นฐานของขั้นตอนต่อไปและมีคำถาม
ในลักษณะเติมคำในช่องว่างให้ผู้เรียนตอบ มีคำเฉลยไว้ก่อนเมื่อตอบแล้วจึงเปิดดู เหมาะสำหรับวิชาที่เรียงตามลำดับขั้นตอน
2.2 บทเรียนที่มีเป็นตอน (Branching Programming) เป็นบทเรียนที่ผู้เรียนมีโอกาสทีได้รับคำอธิบายเพิ่มเติมในกรณีที่ตอบคำถาไม่ถูก ส่วนวิธีเรียนก็เรียงจากง่ายไปยากแต่ลักษณะคำถามจะเป็นแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) เมื่อผู้เรียนตอบคำถามหมดแล้วจึงพลิกไปดูคำเฉลย
2.3 การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) คือการปรุงแต่งพฤติกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการซึ่งมี 3 ลักษณะคือ
2.3.1 การเพิ่มพฤติกรรมหรือคงพฤติกรรมเดิมที่เหมาะสมไว้
2.3.2 การสร้างเสริมพฤติกรรมใหม่
2.3.3 การลดพฤติกรรม
2.4 การสอนวิธีการพูด หรือที่เรียกว่าพฤติกรรมทางวาจา (Verbal Behavior) สกินเนอร์ได้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงขึ้นในปี ค.ศ. 1963 เพื่อใช้ฟังเสียง การอ่านการพูดซึ่งเป็นประโยชน์มากในวงการด้านภาษา เข้ากล่าวว่า ภาษาพูดเกิดขึ้นจากการเรียนรู้เมื่อได้รับการเสริมแรง

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Hull

ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลส์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลส์ (Hull ’s Systematic Behavior Theory)
ฮัลส์ (Hull 1844-1952) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน หลักการทดลองของเขา ใช้หลักการคณิตศาสตร์มาสร้างทฤษฏีทางจิตวิทยาอย่างมีระบบ ซึ่งเป็นแบบ S-R คื่อการต่อเนื่องระหว่างสิ่งเรากับการตอบสนองโดยกล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรูปของคณิตศาสตร์มีการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างการจูงใจกับกลไกในการเรียนรู้ และกล่างถึงพื้นฐานของการเรียนรู้เกิดจากการเสริมแรงมากว่าการจูงใจ
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีทฤษฎีการเรียนรู้ชองฮัลส์ เริ่มจากสมมุติฐานโดยใช้กระบวนการอนุมาน (Deductive Process) ก่อนแล้วจึงทดลองเพื่อทดสอบสมมุติฐานและเมื่อสมมุติฐานใดที่เป็นจริงเขาก็ได้ตั้งเป็นทฤษฎีต่อไป
สมมุติฐานแรกของฮัลล์ ฮัลล์เชื่อว่าการที่มนุษย์และสัตว์จะเกิดการเรียนรู้ได้ต้องมีการสร้างแรงขับ(Drive) ได้แก่ ความหิว ความกรหาย เป็นต้น ซึ่งเขากล่าวว่า การแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้มากหรือน้อยเกิดจากผลคูณระหว่างแรงขับ (Drive) กับอุปนิสัย (Habit) ของบุคคลนั้นเมื่อได้รับการเสริมแรง เขียนเป็นสมการได้ว่า
B = D x H
B = พฤติกรรม (Behavior)
D = แรงขับ (Drive)
H = นิสัย (Habit)
ฮัลล์เน้นการเรียนรู้ซึ่งจะเกิดขึ้นถ้าลดแรงขับ และความต้องการของร่างกาย การลดแรงขับนั้นไม่
จำเป็นต้องลดลงไปหมด เพียงแต่ลดลงไปบางส่วน การลดแรงขับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ
รางวัล แม้จะทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่ก็กำหนดได้ไม่แน่นอน อาจจะเป็นรางวัลจำนวนมากหรือน้อย และมี
ความหมายเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับผู้เรียนแต่ละคน
การเรียนรู้จะเพิ่มขึ้นเป็นระยะ ซึ่งจะสะสมเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นลักษณะที่กระทำต่อเนื่องกัน การเสริมแรงจะทำให้การเรียนรู้เพิ่มความแรงและกระชับขึ้น แต่ในบางครั้งอัตราการเพิ่มจะลดลงแม้ว่าการเรียน
การเรียนรู้ของแต่ละคนมีความไม่สม่ำเสมอ มีขึ้นมีลง เพราะมีตัวแปรหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้
เพื่อหาวิชาที่เรียน ความพร้อมของผู้เรียน สภาพของแรงขับ ความแตกต่างระหว่างบุคคล เครื่องล่อใจเหล่านี้เป็นสิ่งเร้าที่อิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคนเราเป็นอย่างมาก

การทดลอง

การทดลองที่สนับสนุนสมมุติฐานของฮัลล์ เป็นการทดลองของวิเลียม (William 1938)
และเพอริน (Perin 1942) โดยมีขั้นตอนดังนี้
การทดลองของวิเลียม เป็นการฝึกให้หนูกดคานโดยแบ่งหนูออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มได้รับการอด
อาหารนานถึง 24 ชั่วโมง และมีแบบแผนในการเสริมแรงเป็นแบบตายตัวตั้งแต่ 5-90 กล่าวคือ ต้องกดคาน
5 ครั้ง จึงได้รับอาหาร 1 ครั้ง เรื่อย ๆ ไป จนต้องกดคาน 90 ครั้ง จึงจะได้อาหาร 1 ครั้ง
สำหรับการทดลองของเพอริน เป็นการฝึกให้หนูกดคานเช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการทดลองเช่นเดียวกับ
ของวิลเลียมต่างกันตรงที่หนูทดลองของเพอรินได้รับการอดอาหารเพียง 3 ชั่วโมง
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของการแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับแรงขับ (Drive)
คือความหิวของหนูกับอุปนิสัยที่เกิดขึ้นจากการได้รับการเสริมแรง คืออาหารกับการตอบสนอง การกินอาหาร
ยิ่งอดอาหารมาก สร้างแรงขับมาก ๆ การแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ (คือการกดคาน) ก็ยิ่งเข้มข้นมากขึ้นเท่านั้น

กฎการเรียนรู้ในทัศนะของฮัลล์ เข้าได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่สำคัญ คือ
1. การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึงลักษณะการใช้รางวัลให้เกิดการลดแรงขับ การเสริม
แรงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างแรงขับกับการได้รางวัล แรงขับเป็นสภาพความเครียด อันเป็นผลจากความต้องการส่วนรางวัลเป็นความพอใจที่สามารถสนองความต้องการในการลดแรงขับ
การเสริมแรงของเขาจึงแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 การเสริมแรงเบื้องต้น คือการเรียนรู้เพิ่มสิ่งที่เกิดต่อเนื่องและสะสมมากขึ้นเป็นช่วงตอนที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะพฤติกรรมที่ต้องการแสดงออกเท่านั้น แม้ในเวลาที่ไม่มีพฤติกรรมที่สังเกตได้การเรียนรู้ก็ยังสะสมอยู่ จนในที่สุดก็ถึงขั้นที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป
1.2 การเสริมแรงขั้นที่สอง เกิดจากการถ่ายโยงการเรียนรู้ ถ้าการเรียนรู้ใหม่คล้ายคลึงกับการเรียนรู้เดิม ผู้เรียนจะสามารถตอบสนองต่อการเรียนรู้ใหม่นั้น เหมือนเดิมหรือคล้ายคลึงกับเมื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้เดิม นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นที่จำเป็นในการเรียนรู้คือ
ก. ความสามารถ (Capacity) แต่ละบุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น เชาว์ปัญญา ความถนัด เป็นต้น
ข. การจูงใจ (Motivation) เป็นการช่วยให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นโดยการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น
ในตัวผู้เรียน
ค. ความเข้าใจ (Understanding) การเรียนรู้โดยสร้างความเข้มใจในเรื่องที่เรียน เมื่อประสบปัญหาที่
คล้ายคลึงกันก็สมารถจะทำความเข้าใจโดยอาศัยประสบการณ์เดิม
ง. การลืม อัลล์อธิบายการลืมในเรื่องของการไม่ได้นำไปใช้ (Law of Disused) เมื่อเวลาผ่านไป
ผู้เรียนไม่ได้นำสิ่ง ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ก็จะเกิดการลืมขึ้น

การนำไปใช้ในการเรียนการสอน
การนำไปใช้ในการเรียนการสอน จากกฎการเรียนรู้ตามแนวความคิดของฮัลล์ สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ คือ
1. ผู้สอนสร้างแรงขับให้เกิดขึ้นมาก ๆ แก่ผู้เรียนแล้วเมื่อมีการตอบสนองตามที่ต้องการ ต้องรีบ
เสริมแรงทันที จึงจะทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เข้มขันและคงทนถาวรอยู่เรื่อย ๆ
2. เมื่อผู้เรียนเกิดความเหนื่อยล้าในบทเรียน ควรจะมีเวลาพักก่อนแล้วจึงเรียนต่อไป ระยะเวลาที่เหมาะ
สำหรับผู้เรียนในวัยผู้ใหญ่แล้ว ที่ไม่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าประมาณช่วงเวลาละ 50 นาที
3. เมื่อผู้เรียนใกล้จะเรียนรู้และมีความตั้งใจมาก ควรจะให้การเสริมแรงถี่ขึ้น
4. ควรให้พยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง จะทำให้เข้าใจใจสิ่งที่เรียนมากขึ้น และสามารถตอบสนองได้
หลายรูปแบบ
5. การให้ผู้เรียนเกอดการเรียนรู้ที่ดีต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ คือความสามารถของผู้เรียนใจ
แต่ละบุคคล การสร้างความเข้าใจให้เกอดขึ้นมาก ๆ ในบทเรียนเมื่อเรียนรู้แล้วต้องให้ผู้เรียนคิดหรือกระทำ
บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการลืม และพยายามให้ผู้เรียนรู้จักถ่ายโยงการเรียนรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันจากบทเรียนหนึ่งไปสู่อีกบทเรียนหนึ่ง

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Kohler



ทฤษฎีการกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt ‘s Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นำกลุ่มคือ เวอร์ไธเมอร์ (Wertheimer) โคห์เลอร์ (Kohler) คอฟฟ์กา (Koffka) และเลวิน (Lewin)
ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป

กฎการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ
หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้นกลุ่ม
ของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ 4 ข้อ เรียกว่า กฎแห่งการจัดระเบียบ คือ
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
1.5 กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closer) สิ่งเร้าที่ขาดหายไปผู้เรียนสามารถรับรู้ให้เป็นภาพ
สมบูรณ์ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิม
2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การเกิดความคิดแวบขึ้นมาทันทีทันใด ในขณะที่ประสบปัญหาโดยมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกเป็นขั้นตอนจนสามารถแก้ปัญหาได้ เป็นการ
มองเห็นสถานการณ์ในแนวทางใหม่ ๆ ขึ้น โดยเกิดจากความเข้าใจและความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ว่า
ได้ยินได้ค้นพบแล้ว ผู้เรียนจะมองเห็นช่องทางการแก้ปัญหาขึ้นได้ในทันทีทันใด
การทดลองกลุ่มเกสตัลท์ เพื่อที่จะได้เข้าใจวิธีการแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น ซึ่งจะยกตัวอย่างการทดลองของโคล์เลอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1913-1917 ซึ่งทดลองกับลิงชิมแปนซี ซึ่งการทดลองครั้งแรกเป็นการทดลองในเยอรมัน แต่ต่อมาเข้าได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่อเมริกา การทดลองส่วนใหญ่ระยะหลังจึงเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการในประเทศอเมริกา
ขึ้นตอนการทดลอง การทดลองของเขาครั้งแรกมีจุดประสงค์เพราะไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ที่กล่าว สัตว์โลกทั่วไปทำอะไรไม่มีแบบแผนหรือระเบียบวิธีใด ๆ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นการเดาสุ่มหรือการลองถูกลองผิด โดยมีการเสริมกำลังเป็นรางวัล เช่น อาหารเป็นแรงจูงใจที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ โดยไม่มีกระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้ปัญญา
โคลเลอร์ได้สังเกตและศึกษาเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ เพราะมีความเชื่อว่าในสถานการณ์หนึ่ง ถ้ามี
เครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์ในการแก้ปัญหาและปฏิบัติการพร้อม สัตว์และคนสามารถแก้ปัญหาได้โดยการหยั่งเห็นโดยการมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ เมือสัตว์ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยการหยั่งเห็นและเห็นช่องทางในสิ่งนั้นได้แล้ว การกระทำครั้งต่อไปจะสามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ยากขึ้นไปเรื่อย ๆ และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
โคลเลอร์ได้ทดลองโดยการขังลิงชิมแปนซี ตัวหนึ่งไว้ในกรงที่ใหญ่พอที่ลิงจะอยู่ได้ภายในกรงมีไม้หลายท่อน มีลักษณะสั้นยาวต่างกันวางอยู่ นอกกรมเขาได้แขวนกล้วยไว้หวีหนึ่งเกินกว่าที่ลิงจะเอื้อมหยิบได้การใช้ท่อนไม้เหล่านั้น บางท่อนก็สั้นเกินไปสอยกล้วยไม่ถึงเหมือนกัน มีบางท่อนยาวพอที่จะสอยได้ ในขั้นแรกลิงขิมแพนซีพยายามใช้มือเอื้อมหยิบกล้วยแต่ไม่สำเร็จแม้ว่าจะได้ลองทำหลายครั้งเป็นเวลานานมันก็หันไปมองรอบรอบกรง เขย่ากรง ส่งเสียงร้อง ปีนป่ายและทำทุกอย่างที่จะช่วยให้ได้กินกล้วย แต่เมื่อไม่ได้ผลไม่สามารถแก้ปัญหาได้มันหันมาลองจับไม้เล่นแบะใช้ไม้นั้นสอยกล้วยแต่เมื่อไม่ได้ผล ไมสามารถจะแก้ปัญหาได้ มันหันมาลองจับไม้อันอื่นเล่น และใช้ไม้นั้นสอยกล้วย การกระทำเกิดขึ้นเร็วและสมบูรณ์ ไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ เลยในที่สุดมันก็สามารถใช้ไม้สอยกล้วยมากินได้
วิธีการที่ลิงใช้แก้ปัญหานี้ โคล์เลอร์เรียกพฤติกรรมนี้ว่าเป็นการหยั่งเห็น เป็นการมองเห็นช่องทางใน
การแก้ปัญหาโดยลิงชิมแพนซีได้มีการรับรู้ในความสัมพันธ์ระหว่างไม้สอย กล้วยที่แขวนอยู่ข้างนอกกรงและสามารถใช้ไม้นั้นสอยกล้วยได้เป็นการนำไปสู่เป้าหมาย
กระบวนการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซีมีดังนี้
ก. วิธีการแก้ปัญหาโดยการหลั่งเห็นจะเกิดขึ้นทันทีทันใดเหมือนความกระจ่างแจ้งในใจ
ข. การเรียนรู้การหยั่งเห็นเป็นการที่ผู้เรียนมองเห็นรับรู้ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นการตอบสนองของสิ่งเร้าเพียงอย่างเดียว
ค. ความรู้เดิมของผู้เรียน ประสบการณ์ของผู้เรียนมีส่วนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการหยั่งเห็นในเหตุการณ์ที่ประกอบขึ้นเป็นปัญหาและช่วยให้ การหยั่งเห็นเกิดขึ้นเร็ว
การนำทฤษฎีประยุกต์ในการเรียนการสอน
การนำทฤษฎีประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นักจิตวิทยากลุ่มนี้คิดว่า ในการเรียนรู้ของคนเราเป็นการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และคิดได้ว่าอะไรเป็นอย่างไร ปัญหาก็แจ่มชัดขึ้นเอง เนื่องจากการเห็นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ของปัญหามีหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็นดังนี้
1. การหยั่งเห็นจะขึ้นอยู่กับการจัดสภาพที่เป็นปัญหา ประสบการณ์เดิมแม้จะมีความหมายต่อการเรียนรู้ แต่การหยั่งเห็นนั้นให้เป็นระเบียบ และสามารถจัดส่วนของสถานการณ์นั้นให้เป็นระเบียบ มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

2. เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ครึ่งหนึ่ง คราวต่อไปเมื่อเกิดปัญหาขึ้นอีกผู้เรียนก็จะสามารถนำวิธีการนั้น
มาใช้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาคิดพิจารณาใหม่
3. เมื่อค้นพบลู่ทางในการแก้ปัญหาครั้งก่อนแล้วก็อาจนำมาดัดแปลงใช้กับสถานการณ์ใหม่ และรู้จัก
การมองปัญหา เป็นส่วนเป็นตอนและเรียนรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้


ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Guthrie


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขต่อเนื่องของกัทธรี
ทฤษฎีการวางเลื่อนแขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s Continuous Conditioning Theory)
กัทธรี (Guthrie 1886-1959) เป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาชาวอเมริกันเขาได้แนวความคิดจากทฤษฏี
การเรียนรู้ของวัตสันคือ การศึกษาการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือจากกริยาสะท้อน (Reflex) เป็น
การเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ไว้โดยไม่ต้องกระทำซ้ำบ่อย ๆ

กฎการเรียนรู้
กฎการเรียนรู้ กัทธรีมีแนวความคิดว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควบคุม และการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ พฤติกรรมหลายอย่างมีจุดหมาย พฤติกรรมใดที่ทำซ้ำ ๆ เกิดจากกลุ่มสิ่งเร้าเดิมทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้น เขาจึงสรุปการเรียนรู้ได้ว่า
1. เมื่อมีสิ่งเร้าเกิดขึ้นพร้อมกับมีการตอบสอนง และเมื่อสิ่งเร้าในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอีก ก็จะมีแนวโน้มการตอบสนองในแนวเดิม
2. หลักการกระทำครั้งสุดท้าย ถ้าการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จากกากระทำเพียงครั้งเดียว ซึ่ง
ถ้าการกระทำครั้งสุดท้ายในสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีกผู้เรียนจะกระทำเหมือนที่เคยทำครั้งสุดท้าย
3. หลักการแทนที่ ถ้าสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาเร้าให้บุคคลตอบสนองได้แม้เพียงครั้งเดียวมา
ถ้าใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมาแทนสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขก็จะเกิดการตอบสนองเช่นเดียวกัน ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น กัทธรีเน้นการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง ซึ่งมีแนวความคิดเช่นเดียวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟและวัตสัน

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
จากทฤษฎีการเรียนรู้ของกัทธรีเราสามารถนำมาใช้ในด้านการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. การเรียนรู้เกิดจากการกระทำหรือการตอบสนองเพียงครั้งเดียวไมต้องลองกระทำหลาย ๆ ครั้ง
หลักการนี้ใช้ได้กับผู้มีประสบการณ์เดิมมาก่อน
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กัทธรีมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกอิดจาก ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้า
และการตอบสนองของผู้เรียนโดยเกิดจากการกระทำเพียงครั้งเดียว (One-Trial Learning) มิต้องลองทำหลาย ครั้ง เขาเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แสดงว่า ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะตอบสนองติ่สิ่งเร้าที่ปรากฏในขณะนั้นทันที และเป็นการตอบสนองติ่สิ่งเร้าอย่างสมบูรณ์ไม่จำต้องฝึกต่อไป และสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่วางเงื่อนไขอย่างแท้จริง การทดลอง กัทธรีได้ทำการทดลองโดยใช้แมวและสร้างกล่องปัญหาขึ้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือจะมี กล้องถ่ายภาพยนตร์ติดไว้ที่กล่องปัญหาด้วย นอกจากนี้ยังมีเสาเล็ก ๆ อยู่กลางกล่องและมีกระจกที่ประตู ทางออกประตูหน้า ซึ่งเปิดแง้มอยู่มีปลาแซลมอนวางอยู่บนโต๊ะข้างหน้ากล่อง กัทธรีจะสังเกตพฤติกรรมโดย การบันทึกภาพไว้ตั้งแต่แมวถูกขังไว้และหาทางออกจากกล่องปัญหาจนได้ จากการบันทึกและสังเกตพลว่า แมวบางตัวจะกัดเสาหลายครั้ง บางตัวก็จะหันหลังและชนเสา บางตัวหนีออกจากกล่องและบางตัว ใช้เท้าหน้าและเท้าหลังชนเสา บางตัวหนีออกจากกล่องและบางตัวใช้เท้าหน้าเท้าหลังชนเสาและหมุนไป รอบ ๆ เขาจึงสรุปว่า ก. แมวบางตัวมีแบบแผนการกระทำหลายแบบที่จะหนีจากกล่องถ้าอากรเลื่อนไหวครั้งสุดท้าย ประสบผลสำเร็จ จะเป็นแบบแผนที่แมวจะยึดถือในการแก้ปัญหาครั้งต่อไป ข. แมวบางตัวมีแบบแผน แบบเดียวและใช้ วิธีนั้นจนกว่าจะเปลี่ยนสิ่งเร้าที่จะทำให้เรียนรู้ขึ้น เขามีความเห็นว่า แมวที่เขาใช้ทดลอง ทำแบบที่เคยทำไมสำเร็จก็จะเปลี่ยน วิธีใหม่ ถ้าแบบใหม่ ประสบผลสำเร็จแมวจะยึดแบบนั้น
2. ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ควรใช้การจูใจ เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมมากกว่าการเสริมแรง
3. แนวความคิดกัทธรีก็คล้ายคลึงกับแนวความคิดในการเรียนรู้อย่างมีเงื่อนไขจากทฤษฎีอื่น ซึ่ง
ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเช่นกัน
4. กัทธรีเชื่อว่าการลงโทษมีผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งมี 4 ลักษณะคือ
ก. การลงโทษสถานเบา ทำให้ผู้ถูกลงโทษมีอาการตื่นเต้นแต่พฤติกรรมอาจยังไม่เปลี่ยนแปลง
ข. การเพิ่มโทษ ทำให้ผู้ถูกลงโทษเลิกแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
ค. การลงโทษเปรียบเสมือนแรงขับที่กระตุ้นให้ผู้ถูกลงโทษตอบสนองต่อสิ่งเร้าจนกว่าจะ หาทางลดความเครียดไว้ การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการได้รับรางวัลมากกว่าการลงโทษ
ง. ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นแล้วลงโทษ ทำให้มีพฤติกรรมอื่นตามมาภายหลัง
พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้น อาจเป็นพฤติกรรมอื่นที่ไม่พึงปรารถนาเชนเดียวกัน จึงควรที่จะให้
พฤติกรรมที่พึงปรารถนาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาไปพร้อมกัน เช่น เมื่อต้องการให้เลิกพฤติกรรม
ลอกงานเพื่อนมาส่ง ควรจะให้ทำงานไปพร้อมทั้งอธิบายให้เข้าใจและเปิดตำราตอบได้